ปรัญชากศน.เสนา "จัดการความรู้ ควบคู่คุณธรรม น้อมนำเศษฐกิจพอเพียง" วิสัยทัศน์ "กศน.เสนามุ่งมั่นจัดการศึกษาตลอดชีวิต ให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554

สรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงานขับเคลื่อนแผนชุมชนระดับอำเภอ
โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีการพัฒนาเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยกระบวนการแผนชุมชน
วันที่ ๙-๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔
สรุปบทเรียนที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ฯ
ตามกำหนดการโครงการ


วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ การประชุมจัดขึ้นที่โรงแรม วรบุรี ตลอดทั้งวัน
ที่ประชุมพูดถึง แผนชุมชนที่ผ่านมาประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวอย่างไร บรรยายโดยท่านพัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (คุณธัชฤทธิ์ ปนารักษ์) ตรงนี้มี โมเดลที่น่าสนใจมาก ดังรูปภาพนี้ค่ะ

เป็นมุมมอง ๗ มิติในการจัดทำแผนชุมชน โมเดลนี้พกเป็นคัมภีร์ในการออกจัดเวทีประชาคมเพื่อทำแผนชุมชนได้เลยค่ะ
ช่วงบ่าย พุดคุยกับ คุณชลณิธา คชประเสริฐ์ ) ถึงแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านให้ยั้งยืน
ความเป็นปราชญ์ และ เป็นผู้นำของคุณชลณิธา โดดเด่นมาก จากการพูดคุยนานกว่าสองชั่วโมง ทำให้เชื่อได้ว่า คุณชลณิธา น่าจะเป็นต้นแบบของผู้นำหลายๆคนได้ดี วันนี้จบการประชุมลง ด้วยการให้ผู้เข้ารับการอบรมได้กลับไปคิดถึงแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านตัวเอง แล้วพรุ่งนี้เตรียมตัวเดินทางไป จ.ระยอง กันแต่เช้าค่ะ
วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔
ออกเดินทางตั้งแต่ ๗ โมงเช้า มีเผื่อเวลาไว้รอผู้ที่อยู่ไกลเล็กน้อย คณะดูงานของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็ไปถึง บ้านจำรุง หมู่ ๗ ตำบล เนินฆ้อ จ.ระยอง เวลาเกือบ เที่ยงค่ะ

บรรยากาศภายในหมู่บ้านดูเป็นระเบียบเรียบร้อยมาก ผู้คนก็อัธยาศัยดีมากค่ะ ชาวบ้านจำรุง ต้อนรับคณะพวกเราด้วยอาหารมื้อเที่ยงที่อร่อยที่สุดในการเดินทางครั้งนี้ค่ะ เพราะฝีมือแม่ครัวบ้านจำรุงสุดยอดมาก ผักสดๆหวานๆรับประทานกับนำพริกกะปิ และแกงหมู่ป่าใส่มะเขือ , ไข่ทอดชะอม , ปลาทูต้มเค็ม ตามด้วยของหวาน เป็นสัปรดกับแตงโม ที่หวานชื่นใจมากค่ะ
หลังจากผู้นำชุมชนบ้านจำรุง โดย ท่านผู้ใหญ่บ้าน บรรยายสรุปเสร็จ พวกเราก็นั่งรถมอเซอร์ไซร์ที่พ่วงทำนั่งไว้ข้างๆ ตะเวนพาเราไปเที่ยวสวนทุเรียน สวนผลไม้ ปลอดสารพิษในหมู่บ้านค่ะ

บ้านพึ่งตนเอง เป็น ศูนย์สาธิตเศรษฐกิจพอเพียง โดย กศน.ตำบลเนินฆ้อ ร่วมกับหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนะค่ะ ที่นี่สาธิตการปลูกผักในกระบอกไม้ไผ่ , เลี้ยงกบคอนโดโดยใช้ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว , การทำน้ำปลาไว้ทานเอง , การเลี้ยงตะพาบน้ำ , ปลูกมะยงอย่างไรให้ได้ผลหวาน , การทำปุ๋ยชีวภาพ , ต่อกิ่งทุเรียนให้เป็นทุเรียนมี ๒ พันธ์ในต้นเดียวกันค่ะ
หลังจากนั้นไปบ้านป้ายองกันต่อ ป้ายองเป็นคุณยายใจดี ร้องเพลงเพราะด้วยนะค่ะ มีอาชีพทำเกษตรผสมผสาน ค่ะ ที่นี้ป้ายองเล่าชีวิตตามแนวพระราชดำรัสในหลวงการใช้ชีวิตพอเพียงให้เราฟัง ซาบซึ้งค่ะ ป้ายองไม่มีลูกใครจะมาสมัครเป็นลูกป้ายองก็ได้นะค่ะ..

ดูงานกันทั้งวันจนไปถึงกิจกรรมภาคค่ำ ก็เป็นมื้อค่ำที่เต็มไปด้วยมิตรภาพ เพราะกิจกรรมง่ายที่ทำให้เราได้รู้จักกันทั้งจังหวัด ก็คือ พิธีกร ให้แต่ละอำเภอที่จับฉลากได้ขึ้นไปแนะนำตัวที่ล่ะอำเภอนะค่ะ และร้องเพลง ๑ เพลงค่ะ เนื่องจากแต่ละอำเภอจะมากันประมาณ ๙ คน จากคนละหน่วยงานกันนะค่ะ เช่น กศน.,พัฒนาการอำเภอ , ปลัดอำเภอ , ผู้ใหญ่บ้าน, กำนัน , นายกองค์การท้องถิ่นต่างๆ , สาธารณสุข ฯลฯ ก็ได้รู้จักกันระหว่างหน่วยงานด้วย ระหว่างอำเภอด้วย ได้เพื่อนและทีมงานกลับมาแน่นอนค่ะ
สำหรับชาวอำเภอเสนา ได้ยินเสียง ปลัดจักร์พันธ์ ดำคุ้ม ร้องเพลงเป็นครั้งแรกในชีวิตค่ะ "เพลงราชาเงินผ่อน" พี่แอ็ด คาราบาว คงคิดหนักถ้ามาได้ยินเข้านะค่ะ ส่วนชาว กศน.ของเราไม่น้อยหน้าค่ะ ไปกันถ้านับไม่ผิดน่าจะเป็น ๑๐ อำเภอ ได้แก่ ผักไห่ บ้านแพรก นครหลวง มหาราช ลาดบัวหลวง บางบาล วังน้อย บางปะหัน บางไทร และ เสนา ค่ะ
จบกิจกรรมวันที่ ๑๐ เพียงเท่านี้ค่ะ
๑๒ มีนาคม ๒๕๕๔
วันที่ ๓ นี้เริ่มต้นด้วยการไปบรรยายสรุป ที่ไปดูงานกันมาเมื่อวานจากทั้ง ๓ หมู่บ้าน เพราะเราแบ่งเป็น ๓ ทีม ไปดูงาน ๓ หมู่บ้าน แต่ละทีมจึงนำความรู้ที่ได้รับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยมีตัวแทน จากทั้ง ๓ หมู่บ้านมาบรรยายสรุปให้คณะดูงานฟังอีกครั้ง
หลังจากนั้นพวกเราแต่ละอำเภอก็มาระดมความคิด เพื่อสรุป "ปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาหมู่บ้านประสบความสำเร็จ" โดย เขียนออกมาเป็นแผนที่ความคิด Mind mapping อันนี้ของถนัดของ คน กศน.ค่ะ จากนั้นก็ส่งตัวแทนแต่ละอำเภอไปนำเสนอ

หมายเหตุ
ครูโอ๋ และ ผู้ใหญ่ภิรมย์ ฤกษ์ลักษณี ต้องเดินทางกลับก่อนการประชุมจะสิ้นสุดเพราะ ผู้ใหญ่ต้องรีบกลับมาสอบปลายภาคที่ กศน.ร่วมทั้งครูโอ๋ ก็ต้องรีบกลับมาทำหน้าที่งานส่วนกลางในการสอบปลายภาคด้วย จึงน่าเสียดายที่เก็บความรู้มาได้เพียงเท่านี้ ส่วนที่เหลือจากนี้จะรอท่านพัฒนาการอำเภอกลับมาจากระยอง แล้วครูโอ๋จะนำเรื่องสาระต่อจากนี้มานำเสนอต่อนะค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น