ปรัญชากศน.เสนา "จัดการความรู้ ควบคู่คุณธรรม น้อมนำเศษฐกิจพอเพียง" วิสัยทัศน์ "กศน.เสนามุ่งมั่นจัดการศึกษาตลอดชีวิต ให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

กศน.อำเภอเสนา ดำเนินการสอบปลายภาค ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๔


๑๗-๑๘ และ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔
กศน.อำเภอเสนา ดำเนินการสอบปลายภาค ประจำภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๔ ทั้ง ๒ หลักสูตร ได้แก่ หลักสูํตรนำร่อง และ หลักสูตร ๕๑ (ทั่วประเทศ)
โดยได้ย้ายสนามสอบ จากโรงเรียน เสนา "เสนาประสิทธิ์" ไปใช้สถานที่ของ วิทยาลัยการอาชีพเสนา แทน เพราะระดับน้ำในพื้นที่ตัวอำเภอนั้นสูงมากทำให้การเดินทางของนักศึกษาไม่สะดวก
ถึงการสอบจะดำเนินไปด้วยความลำบาก แต่บรรยากาศในสนามสอบก็เต็มไปด้วยรอยยิ้ม ความหวังของนักศึกษาผู้มุ่งหวังความก้าวหน้า เรียกได้ว่า สอบกับแบบ "สู้ยิบตา" ค่ะ

วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่

เย็นวันหนึ่งในเชียงใหม่ ....
ช่วงที่เดินทางไป งาน กีฬา กศน.เกมส์ ที่เชียงใหม่ มีช่วงเย็นวันหนึ่งมีเวลาว่างๆ เดินทางไปเที่ยววัดต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่ โดยสารรถเหมารอบเมืองสีแดงไปค่ะ มีคนขับเป็นคุณลุงใจดีท่านหนึ่ง พาไปกับพี่ที่อยู่ต่างอำเภอ และ น้องบุ๋ม สามคนได้ไปเดินเล่นสงบๆๆ รู้สึกประทับใจหลายๆๆวัด แต่หนึ่งในวัดที่ประทับใจสุด คือ วัดนี้ค่ะ " วัดเจดีย์หลวง"

ประวัติวัดเจดีย์หลวง

วัดเจดีย์หลวง สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1913-1954) ต่อมาพระยาติโลกราชโปรดให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2024 และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานระหว่าง พ.ศ.2011-2091 นานถึง 80 ปี ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2088 ทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลง ปัจจุบันเจดีย์มีความสูงคงเหลือ 40.8 เมตร ฐานกว้างด้านละ 60 เมตร

วิหารหลวงของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์ (สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2471 หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ และในวัดเจีดย์หลวงนี้ยังมี เสาอินทขิล หรือ เสาหลักเมือง สร้างขึ้นเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1839 ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็ก ๆ เสาอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ทุกปีในวันแรม 12 ค่ำเดือน 8 (เหนือ) หรือประมาณเดือนพฤษภาคมจะมีงานเรียกว่า เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมือง

วัดเจดีย์หลวง หรือวัดโชติการาม หรือราชกูฏ หรือกุฏาราม สร้างในสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. 1928 - 1944) โอรสของพญากือนา ต่อมารวมพื้นที่กับวัดสุขมินท์วัดหอธรรมวัดสบฝางหรือป่าฝาง และบางส่วนของวัดพันเตาเรียกว่าวัดเจดีย์หลวง



พระเจดีย์หลวง


เริ่มสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1934 สมัยพญาแสนเมืองมา สมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2030) โปรดให้สร้างเสริมให้มีส่วนสูง 80 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้าง ด้านละ 56 เมตรปรับรูปทรงเป็น แบบโลหะปราสาทของลังการูปลักษณ์ทรงเจดีย์แบบพุกามดัดแปลงซุ้ม จระนำมุดเจดีย์ด้าน ตะวันออกให้เป็นซุ้มและแท่นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต

ครั้งพระแก้วมรกตประดิษฐานที่เชียงใหม่ช่วง พ.ศ. 2011 - 2091 สมัยพระเมืองแก้วหรือ พญาแก้วมีการบูรณะอีกครั้งโดยขยายฐานใหม่ให้ใหญ่ขึ้น พ.ศ. 2088 สมัยพระนางจิรประภา เกิดพายุและแผ่นดินไหว ยอดพระเจดีย์หักพังทลายลงมา เป็นอุทาหรณ์ ของการสร้างอาคารสูงในเชียงใหม่ที่ยังไม่มีใครวิตก

พระอัฎฐารส



เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง หล่อด้วยทองสำริด ปางห้ามญาติสูง 18 ศอก พระนางติโลกะจุดา ราชมารดาของพญาติโลกราช โปรดฯให้หล่อขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1954 สมัยรัชกาลที่ 5 ใช้วิหารวัดเจดีย์หลวงเป็นที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัจจา แทนการใช้ที่วิหารวัดเชียงมั่น

เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง

ตั้งอยู่กลางวิหารจตุรมุขศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ เป็นเสาอิฐก่อปูนตัดกระจกสี รอบเสาวัดได้ 5.67 เมตร สูง 1.30 เมตร แท่นพระบนเสาอินทขิลสูง ๙๗ เซนติเมตร รอบแท่นวัดได้ 2.4 เมตร บนเสาอินทขิลมีพะรพุทธรูปทองสำริดปางรำพึง ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบก พลตรี เจ้าราชบุตร (วงศ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) นำมาถวายวัดเจดีย์หลวงเมื่อปี พ.ศ. 2514 เพื่อให้ชาวเมืองได้สักการะคู่กัน

ตำนานเสาอินทขิล การสร้างเสาอินทขิลเริ่มจากชาวลัวะซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง เชิงดอยสุเทพ ได้ก่อตั้งชุมชนระดับเวียงหลายแห่งในบริเวณนี้ เช่นเวียงเชษฐบุรี เวียงสวนดอก เวียงนพบุรี เมื่อตั้งเวียงนพบุรีได้ตั้งเสาอินทขิลขึ้นเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเมือง พร้อมกับมอบกุมภัณฑ์สองตนทำหน้าที่รักษาเวียงให้มั่นคง ตามคำแนะนำของฤาษี ชาวเมืองต้องทำพิธีบูชาเสาอินทขิลและเลี้ยงกุมภัณฑ์ หากปล่อยปละละเลยไม่บูชาบ้านเมืองจะวินาศ ส่วนเสาอินทขิลที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงนั้น มีบันทึกไว้ว่าพญามังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์ทรงสร้างเสาอินทขิล เมื่อครั้งสถาปนา "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1839 เดิมอยู่ที่วัดสะดือเมืองหรือวัดอินทขิล กลางเวียงเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือหอประติโลกราช ข้างศาลากลางหลังเก่า) ครั้ง "พระเจ้ากาวิละ" ครองเมืองเชียงใหม่ ได้ย้ายมาประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง โดยบูรณะขึ้นใหม่เป็นเสาปูน พร้อมกับทำการบวงสรวงเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

ที่มา : paiteaw.com
ภาพโดย เลิศชาย ปานมุข