ปรัญชากศน.เสนา "จัดการความรู้ ควบคู่คุณธรรม น้อมนำเศษฐกิจพอเพียง" วิสัยทัศน์ "กศน.เสนามุ่งมั่นจัดการศึกษาตลอดชีวิต ให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่

เย็นวันหนึ่งในเชียงใหม่ ....
ช่วงที่เดินทางไป งาน กีฬา กศน.เกมส์ ที่เชียงใหม่ มีช่วงเย็นวันหนึ่งมีเวลาว่างๆ เดินทางไปเที่ยววัดต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่ โดยสารรถเหมารอบเมืองสีแดงไปค่ะ มีคนขับเป็นคุณลุงใจดีท่านหนึ่ง พาไปกับพี่ที่อยู่ต่างอำเภอ และ น้องบุ๋ม สามคนได้ไปเดินเล่นสงบๆๆ รู้สึกประทับใจหลายๆๆวัด แต่หนึ่งในวัดที่ประทับใจสุด คือ วัดนี้ค่ะ " วัดเจดีย์หลวง"

ประวัติวัดเจดีย์หลวง

วัดเจดีย์หลวง สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1913-1954) ต่อมาพระยาติโลกราชโปรดให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2024 และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานระหว่าง พ.ศ.2011-2091 นานถึง 80 ปี ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2088 ทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลง ปัจจุบันเจดีย์มีความสูงคงเหลือ 40.8 เมตร ฐานกว้างด้านละ 60 เมตร

วิหารหลวงของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์ (สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2471 หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ และในวัดเจีดย์หลวงนี้ยังมี เสาอินทขิล หรือ เสาหลักเมือง สร้างขึ้นเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1839 ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็ก ๆ เสาอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ทุกปีในวันแรม 12 ค่ำเดือน 8 (เหนือ) หรือประมาณเดือนพฤษภาคมจะมีงานเรียกว่า เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมือง

วัดเจดีย์หลวง หรือวัดโชติการาม หรือราชกูฏ หรือกุฏาราม สร้างในสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. 1928 - 1944) โอรสของพญากือนา ต่อมารวมพื้นที่กับวัดสุขมินท์วัดหอธรรมวัดสบฝางหรือป่าฝาง และบางส่วนของวัดพันเตาเรียกว่าวัดเจดีย์หลวง



พระเจดีย์หลวง


เริ่มสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1934 สมัยพญาแสนเมืองมา สมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2030) โปรดให้สร้างเสริมให้มีส่วนสูง 80 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้าง ด้านละ 56 เมตรปรับรูปทรงเป็น แบบโลหะปราสาทของลังการูปลักษณ์ทรงเจดีย์แบบพุกามดัดแปลงซุ้ม จระนำมุดเจดีย์ด้าน ตะวันออกให้เป็นซุ้มและแท่นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต

ครั้งพระแก้วมรกตประดิษฐานที่เชียงใหม่ช่วง พ.ศ. 2011 - 2091 สมัยพระเมืองแก้วหรือ พญาแก้วมีการบูรณะอีกครั้งโดยขยายฐานใหม่ให้ใหญ่ขึ้น พ.ศ. 2088 สมัยพระนางจิรประภา เกิดพายุและแผ่นดินไหว ยอดพระเจดีย์หักพังทลายลงมา เป็นอุทาหรณ์ ของการสร้างอาคารสูงในเชียงใหม่ที่ยังไม่มีใครวิตก

พระอัฎฐารส



เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง หล่อด้วยทองสำริด ปางห้ามญาติสูง 18 ศอก พระนางติโลกะจุดา ราชมารดาของพญาติโลกราช โปรดฯให้หล่อขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1954 สมัยรัชกาลที่ 5 ใช้วิหารวัดเจดีย์หลวงเป็นที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัจจา แทนการใช้ที่วิหารวัดเชียงมั่น

เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง

ตั้งอยู่กลางวิหารจตุรมุขศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ เป็นเสาอิฐก่อปูนตัดกระจกสี รอบเสาวัดได้ 5.67 เมตร สูง 1.30 เมตร แท่นพระบนเสาอินทขิลสูง ๙๗ เซนติเมตร รอบแท่นวัดได้ 2.4 เมตร บนเสาอินทขิลมีพะรพุทธรูปทองสำริดปางรำพึง ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบก พลตรี เจ้าราชบุตร (วงศ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) นำมาถวายวัดเจดีย์หลวงเมื่อปี พ.ศ. 2514 เพื่อให้ชาวเมืองได้สักการะคู่กัน

ตำนานเสาอินทขิล การสร้างเสาอินทขิลเริ่มจากชาวลัวะซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง เชิงดอยสุเทพ ได้ก่อตั้งชุมชนระดับเวียงหลายแห่งในบริเวณนี้ เช่นเวียงเชษฐบุรี เวียงสวนดอก เวียงนพบุรี เมื่อตั้งเวียงนพบุรีได้ตั้งเสาอินทขิลขึ้นเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเมือง พร้อมกับมอบกุมภัณฑ์สองตนทำหน้าที่รักษาเวียงให้มั่นคง ตามคำแนะนำของฤาษี ชาวเมืองต้องทำพิธีบูชาเสาอินทขิลและเลี้ยงกุมภัณฑ์ หากปล่อยปละละเลยไม่บูชาบ้านเมืองจะวินาศ ส่วนเสาอินทขิลที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงนั้น มีบันทึกไว้ว่าพญามังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์ทรงสร้างเสาอินทขิล เมื่อครั้งสถาปนา "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1839 เดิมอยู่ที่วัดสะดือเมืองหรือวัดอินทขิล กลางเวียงเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือหอประติโลกราช ข้างศาลากลางหลังเก่า) ครั้ง "พระเจ้ากาวิละ" ครองเมืองเชียงใหม่ ได้ย้ายมาประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง โดยบูรณะขึ้นใหม่เป็นเสาปูน พร้อมกับทำการบวงสรวงเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

ที่มา : paiteaw.com
ภาพโดย เลิศชาย ปานมุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น