วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ณ วัดสามกอ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พลเอกณพล บุญทับ รองสมุหราชองครักษ์ พร้อมนายทหารจากกรมราชองครักษ์ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และชมรมผู้รู้คุณแผ่นดิน นำถุงยังชีพพระราชทาน อาหาร น้ำดื่ม ผ้าเช็ดตัว และผ้าห่มกันหนาว พร้อมจตุปัจจัยไปถวายแด่พระสงฆ์ พร้อมนำอาหารและสิ่งของไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่วัดสามกอ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการการทหาร วุฒิสภา และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำยาแก้น้ำกัดเท้าไปมอบด้วย พร้อมกันนี้ ร่วมกันกล่าวคำถวายพระพร พร้อมนั่งสมาธิเจริญจิตภาวนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ให้มีพระพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง
โดยครูโอ๋ หัวหน้า กศน.ตำบลสามกอ ได้ไปร่วมในพิธีด้วยค่ะ ตอนเพลมีพิธีถวายเพลพระสงฆ์ ๘๔ รูป หลังจากนั้นผู้แทนพระองค์ ได้มอบถุงพระราชทานจากสมเด็จพระราชชินีให้กับชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุกว่า ๕๐๐ คน สร้างความปลื้มปิติยินดีให้กับผู้สูงอายุอย่างมากค่ะ
วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554
กศน.ตำบลสามกอ แบ่งปั้นห้องเรียนธรรมะสู่น้องๆนักเรียนโรงเรียนวัดสามกอ
สื่บเนื่องจากรูปภาพ เก็บเกร็ดเกี่ยวกับหัวข้อธรรมมาอธิบายต่อ
จาก เว็บ http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=6ddaf001ce113db5
รวมถึงฝึกฝนคุณธรรมด้านอื่นๆ จนเป็นนิสัยฝังอยู่ในสันดาน
คุณธรรมเหล่านี้ย่อมช่วยให้เรามีความสบายใจทั้งในปัจจุบัน และวันต่อไปข้างหน้า
ตรงกันข้ามกับลาภ ยศ สรรเสริญ ซึ่งเป็นทรัพย์ภายนอก
ที่เราควบคุมเหตุปัจจัยได้เพียงบางส่วน
เมื่อใดที่หมดบุญเก่า (เช่นตาย) เมื่อใดที่บาปเก่าตามทันและให้ผล
เมื่อนั้นเราต้องพลัดพรากจากสิ่งเหล่านี้
(ผู้ที่มีสัมมาทิฐิคือเห็นว่าตายแล้วต้องเกิดอีก
ตราบเท่าที่ตัณหายังไม่สิ้นไปจากสันดาน
จะให้คุณค่ากับการพัฒนาจิตใจของตนเอง
มากกว่าการแสวงหาและรักษาทรัพย์สมบัติภายนอกที่ตายแล้วนำติดตัวไปไม่ได้
ผู้มีสติปัญญาย่อมเข้าใจว่าความสบาย ลาภ ยศ สรรเสริญ
เป็นเพียงผลพลอยได้จากการตั้งตนอยู่ในธรรม
เมื่อถึงคราวที่ต้องสูญเสียก็จะไม่รู้สึกเสียดายหรือหวงแหน
ตรงกันข้ามกับคนที่เมาความสบาย เมาลาภ เมายศ เมาสรรเสริญ
เมื่อถึงคราวสูญเสียก็ไม่สามารถทำใจยอมรับได้ และพยายามรักษาไว้โดยไม่เลือกวิธีการ
ไม่สนใจว่าสิ่งที่ตนทำเป็นการเบียดเบียนผู้อื่นหรือไม่
คนเช่นนี้ถือว่าขาดสติปัญญา ประพฤติในสิ่งที่เป็นโทษต่อตนเองด้วยความไม่รู้
แม้จะรักษาความ สบาย ลาภ ยศ สรรเสริญไว้ได้ชั่วคราว
แต่ก็ต้องพบกับความเดือดร้อนในภายหลัง
และเมื่อถึงคราวที่อกุศลให้ผล
ความสบาย ลาภ ยศ สรรเสริญ ก็ช่วยให้เขามีความสุขใจไม่ได้)
วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554
กิจกรรมดีๆที่นักศึกษา กศน.ตำบลสามกอร่วมกันทำ
วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554
กศน.ตำบลสามกอ ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล
วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ดาวน์โหลด เอกสารปรกอบการเรียน ภาคเรียนที่ 2/2554
คลิกดาวน์โหลด เอกสารประกอบการเรียน วิชา ทักษะการตัดสินใจ ทร 02003
คลิกดาวน์โหลด เอกสารประกอบการเรียน วิชาการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทร 02009
คลิกดาวน์โหลด เอกสารประกอบการเรียน วิชาสมุนไพรใกล้ตัว พว 02021
วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ผ่านไปแล้ว ๑๐ วัน กับ ภารกิจครัวกระทรวงศึกษาธิการ จุดวัดสามกอ อ.เสนา
๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๔
วันนี้เป็นวันที่ ๑๐ ที่มีการตั้งครัวกระทรวงศึกษาธิการ ณ วัดสามกอ อ.เสนา วันนี้มีครัวที่ตั้งหลักทำอาหารแจกจ่ายชาวบ้าน ๓ ครัว คือ ครัวบุรีรัมย์,อำนาจเจริญ และ กศน.อำเภอเสนา
บ่าย ๓ โมง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต ๑ ได้เดินทางมาถึง ครัวกระทรวงศึกษาฯ และมอบน้ำดื่ม จำนวนกว่า ๔๐ แพ็ค ขนมปัง และ ข้าวกล่องอีก ๑,๐๐๐ กล่อง และยังรวมทำก๋วยเตี๋ยว แจกจ่ายชาวบ้านอีก ๓๐๐ กว่าชามด้วยค่ะ
เมื่อวาน ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ ส่งครัวเพชรบุรี ครัวสุรินทร์ กลับบ้าน ทำให้บรรยากาศภายในครัวกระทรวงฯ เหงาลงค่ะ แต่ทั้งสองจังหวัดต้องกลับบ้านเพราะเหนื่อยกับงานหนักมา ๓ วันแล้วค่ะ
ครู กศน.เสนาได้นำอาหารที่ครัวทั้ง ๒ จังหวัดทำ ลงเรือไปแจกจ่ายให้ชาวบ้านที่ได้รับความเดือนร้อนขาดอาหาร และเครื่องดื่ม ในช่วงเที่ยงจนหมด
ย้อนกลับไปวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๕๔ วันที่พวกเราเตรียมตัวต้อนรับ คณะท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ท่านวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล แต่ท่านติดภารกิจไม่ได้มา ส่งโฆษกรัฐมนตรีมาแทน วันนั้นเป็นวันที่ได้พบ ท่านประเสริฐ บุญเรืองอีกครั้ง เลขาธิการ กศน.ผู้ที่ปลุกความฝันและเป็นแรงบันดาลใจให้ กศน.ตำบลมีบทบาทเพิ่มขึ้น
ได้มีโอกาสใกล้ชิดเจ้านายก็รู้สึกประทับใจแล้วค่ะ แม้อาจไม่เห็นเด็กตัวเล็กๆๆอย่างเราในสายตา แต่ก็ดีใจที่ได้ติดตามและต้อนรับค่ะ วันนั้นได้นั่งเรืออีกลำตามขบวนไปแจกจ่าย และเยี่ยมเยียนประชาชนชาวตำบล เรือที่ครูโอ๋นั่ง มี ผอ.อ.จังหวัดสุรินทร์ (ขอโทษนะค่ะที่ไม่ทราบชื่อท่าน) ผอ.โชคชัย ดลเสมอ (ผอ.กศน.อำเภอกระสัง จ.บุรีรัมย์) ผอ.ปัญญา ศาสตรา (ผอ.กศน.อำเภอสตึก)
โอกาสแบบนี้คงไม่มีบ่อยนัก จึงเป็นภาพประทับใจ ในความเหน็ดเหนื่ยมีมิตรภาพและอะไรดีๆหลายอย่างซ่อนอยู่ค่ะ
ครัวกระทรวงศึกษาธิการ โดย สนง.กศน. (จุดอำเภอเสนา) วันที่ 4
๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๔
มีครัวกระทรวงศึกธาธิการ มาตั้งที่ บริเวณ กศน.ตำบลสามกอ เป็นวันที่ ๔ แล้วค่ะ วันนี้มีภาระกิจตอนเช้า พา ผอ.อำเภอ จากจังหวัดบุรีรัมย์ ๒ ท่านไปถวายพระวัดโคกเสือ เนื่องจากมีชาวบ้านมาแจ้งว่า พระวัดโคกเสือไม่ได้บิณฑบาตรเพราะระดับน้ำสูง และไม่ได้ฉันท์ข้าว มา ๓ วันแล้ว ครัวกระทรวงศึกษาธิการของเราจึงต้องจัดบริการถึงวัดค่ะ
ภาพที่ ๑ เหตุการณ์ตอนน้ำอาหารไปถวานพระวัดโคกเสือ และชาวบ้านใกล้เคียง
กลับมาถึง ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ฯ มารับอาหารสำหรับไปถวายพระวัดบ้านแพน ก็ต้องนั่งเรือไปอีกค่ะ ตอนแรกเชิญท่านรอง ผอ.จังหวัดบุรีรัมย์ และ ท่าน ผอ.อำเภอจังหวัดบุรีรัมย์ไปด้วยกัน แค่ ๓ คน แต่ ผอ.แดง โทรมาบอกว่าท่านธวัช ชลารักษ์ อยากจะไปนมัสการพระอาจารย์พูน ที่วัด จึงกลับมารับท่านธวัช ผอ.แดง และครูไก่ ส่วนครูโอ๋เห็นคนไปเยอะแล้วจึงขออยู่ดูแลศูนย์ฯค่ะ
ภาพที่ ๒ การเดินทางไปถวายอาหารเพลพระวัดบ้านแพน
วันนี้ยังมีแกงส์ ออฟโรดและภาคเอกชนต่างๆ มาบริจาคของให้กับศูนย์ฯ (ครัวกระทรวงศึกษาธิการของเรามากมายเลยนะค่ะ)
ช่วงบ่ายได้เดินทางไป ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ กับท่านธวัช ชลารักษ์ เพราะท่านให้ไปช่วยพิมพ์เอกสารให้ จึงได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านที่ ต.บางยี่โท อ.บางไทร ซึ่งได้โทรมาหาความช่วยเหลือ ข้าวกล่องและน้ำดื่มกับท่านธวัชไว้ซึ่งท่านก็ได้เดินทางไปมอบความช่วยเหลือให้ด้วยตัวเองค่ะ
ภาพที่ ๓ ท่านธวัช ชลารักษ์ ได้มอบอาหารให้กับชาวบ้าน ต.บางยี่โท อ.บางไทร
ภาพที่ ๔ การเดินทางสู่วัดกษัตราธิราชวรวิหาร (ระดับน้ำสูงเป็นระยะเกือบตลอดเส้นทาง)
ภาพที่ ๕ วิถีชีวิตของชาวบ้านที่มาอาศัยอยู่บนถนนและการเดินทางบนถนนสาย เสนา - อยุธยา
นี่คงเป็นภาพประวัติศาสตร์ ตั้งแต่เกิดยังไม่เคยเห็นถนนสายนี้ถูกน้ำท่วมขนาดนี้เลย สายน้ำไหลเชี่ยวกรากตลอดเส้นทาง เป็นวิกฤตที่สุดของอยุธยาแล้ว
ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม กระทรวงศึกษาธิการ โดย สนง.กศน. (จุดอำเภอเสนา ณ กศน.ตำบลสามกอ)
๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
วันนี้พวกเราชาว กศน.มาช่วยกันตั้ง ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย บริเวณ วัดสามกอ ซึ่งภายในศูนย์มีอาหาร น้ำดื่ม ที่พร้อมให้ประชาชนมารับไปทานได้ทุกเมื่อ มีนวดแผนโบราณ มีมุมหนังสือ ศูนย์ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า มุมสอนอาชีพ มี T.V. และ คาราโอเกะ ไว้บริการ ทุกอย่างที่พวกเราทำก็เพื่อต้องการ บรรเทาทุกข์ให้ประชาชน
และไม่มีทางที่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ถ้าพวกเราไม่มีกันและกัน ต้องขอบคุณทุกท่านเลยค่ะ ทั้ง กศน.สุรินทร์ , กศน.บุรีรัมย์ , กศน.อำเภอลาดบัวหลวง , กศน.อำเภอบางซ้าย ,สาธารณสุขอำเภอเสนา ,กองทัพบก เอื้อเฟื้อทั้งรถ ทั้งกำลังคน และ ช่างซ่อมไฟฟ้า , กำนัน สารวัตรกำนัน , ผอ.โรงเรียนวัดสามกอ ,นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลสามกอ และ ครู กศน.ตำบล อำเภอเสนาทุกๆคน
ครูโอ๋ ยุ่งมากเลยเก็บรูปได้น้อยมาก แต่เก็บไว้ในความทรงจำเต็มพิกัดค่ะ
ท่านเลขาธิการ กศน.มาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจ ถึงเต้นบริการและลงเรือไปแจกของให้กับชาวบ้าน
กว่าจะเนรมิตรทุกอย่างได้เพียงชั่วข้ามคืน ก็ยุ่งมากซะจนไม่สามารถเก็บภาพทุกคนไว้ได้ แต่ก็ขอบคุณทุกๆอีกครั้งนะค่ะ ประชาชนที่ ต.สามกอ รู้สึกซาบซึ้งใจมาก ฝาก ครู กศน.ตำบลสามกอ บอกทุกๆท่าน ว่าขอให้ทุกท่านมีความสุข สมหวังในชีวิตทุกอย่าง ที่อุส่าห์ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ มาช่วยชาวบ้านในครั้งนี้ค่ะ
วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ประกาศผลสอบภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๔ กศน.ตำบบสามกอ
ประกาศผลสอบ ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๔
๒ ตุลาคม ๒๕๕๔ วันนี้เป็นวันประกาศผลสอบปลายภาค กศน.อำเภอเสนา นะค่ะ ในขณะที่ระดับน้ำเริ่มสูงขึ้นและแรงขึ้น เพราะปริมาณน้ำจากทางเหนือยังเยอะอยู่และเริ่มทะยอยเดินไหลลงสู่ภาคกลางนั้น ทำให้บรรยากาศทั่วไปเงียบๆนะค่ะ เพราะการเดินทางไม่สะดวก
วันนี้มี นศ.มาดูผลสอบค่อนข้างบางตา หลายคนโทรมาถามผลสอบแทนเพราะน้ำท่วมบ้านออกมาลำบาก บางคนเครียดโทรมาบ่นก็มีว่าไม่มีห้องน้ำใช้ น่าเห็นใจค่ะ ครูโอ๋อนุญาตให้โทรมาฝากครูเขียนใบลงทะเบียนให้ได้นะค่ะ แต่ใครไม่โทรมาครูไม่มีสิทธิ์คิดแทนนะค่ะ จึงไม่ลงทะเบียนให้ นักศึกษาที่ขาดการติดต่อ และไม่ได้มาลงทะเบียนด้วยตัวเองค่ะ
เนื่องจากเมื่อวานเป็นวันเกิดของครู จึงถือโอกาสจัดปาร์ตี้เล็กๆขึ้นเพื่อผ่อนคลายบรรยากาศน้ำท่วมด้วย
เก็บเป็นภาพประทับใจ ความอบอุ่นระหว่างครูกับลูกศิษย์นะค่ะ เพราะมีลูกศิษย์หลายคน เป็นนักศึกษานำร่อง ที่จะจบในภาคเรียนนี้แล้ว จึงเหมือนเป็นการเลี้ยงส่งไปในตัวค่ะ
วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554
กศน.อำเภอเสนา ดำเนินการสอบปลายภาค ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๔
๑๗-๑๘ และ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔
วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่
วัดเจดีย์หลวง สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1913-1954) ต่อมาพระยาติโลกราชโปรดให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2024 และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานระหว่าง พ.ศ.2011-2091 นานถึง 80 ปี ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2088 ทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลง ปัจจุบันเจดีย์มีความสูงคงเหลือ 40.8 เมตร ฐานกว้างด้านละ 60 เมตร
วิหารหลวงของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์ (สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2471 หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ และในวัดเจีดย์หลวงนี้ยังมี เสาอินทขิล หรือ เสาหลักเมือง สร้างขึ้นเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1839 ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็ก ๆ เสาอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ทุกปีในวันแรม 12 ค่ำเดือน 8 (เหนือ) หรือประมาณเดือนพฤษภาคมจะมีงานเรียกว่า เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมือง
วัดเจดีย์หลวง หรือวัดโชติการาม หรือราชกูฏ หรือกุฏาราม สร้างในสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. 1928 - 1944) โอรสของพญากือนา ต่อมารวมพื้นที่กับวัดสุขมินท์วัดหอธรรมวัดสบฝางหรือป่าฝาง และบางส่วนของวัดพันเตาเรียกว่าวัดเจดีย์หลวง
พระเจดีย์หลวง
เริ่มสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1934 สมัยพญาแสนเมืองมา สมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2030) โปรดให้สร้างเสริมให้มีส่วนสูง 80 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้าง ด้านละ 56 เมตรปรับรูปทรงเป็น แบบโลหะปราสาทของลังการูปลักษณ์ทรงเจดีย์แบบพุกามดัดแปลงซุ้ม จระนำมุดเจดีย์ด้าน ตะวันออกให้เป็นซุ้มและแท่นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต
ครั้งพระแก้วมรกตประดิษฐานที่เชียงใหม่ช่วง พ.ศ. 2011 - 2091 สมัยพระเมืองแก้วหรือ พญาแก้วมีการบูรณะอีกครั้งโดยขยายฐานใหม่ให้ใหญ่ขึ้น พ.ศ. 2088 สมัยพระนางจิรประภา เกิดพายุและแผ่นดินไหว ยอดพระเจดีย์หักพังทลายลงมา เป็นอุทาหรณ์ ของการสร้างอาคารสูงในเชียงใหม่ที่ยังไม่มีใครวิตก
พระอัฎฐารส
เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง หล่อด้วยทองสำริด ปางห้ามญาติสูง 18 ศอก พระนางติโลกะจุดา ราชมารดาของพญาติโลกราช โปรดฯให้หล่อขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1954 สมัยรัชกาลที่ 5 ใช้วิหารวัดเจดีย์หลวงเป็นที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัจจา แทนการใช้ที่วิหารวัดเชียงมั่น
เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง
ตั้งอยู่กลางวิหารจตุรมุขศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ เป็นเสาอิฐก่อปูนตัดกระจกสี รอบเสาวัดได้ 5.67 เมตร สูง 1.30 เมตร แท่นพระบนเสาอินทขิลสูง ๙๗ เซนติเมตร รอบแท่นวัดได้ 2.4 เมตร บนเสาอินทขิลมีพะรพุทธรูปทองสำริดปางรำพึง ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบก พลตรี เจ้าราชบุตร (วงศ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) นำมาถวายวัดเจดีย์หลวงเมื่อปี พ.ศ. 2514 เพื่อให้ชาวเมืองได้สักการะคู่กัน
ตำนานเสาอินทขิล การสร้างเสาอินทขิลเริ่มจากชาวลัวะซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง เชิงดอยสุเทพ ได้ก่อตั้งชุมชนระดับเวียงหลายแห่งในบริเวณนี้ เช่นเวียงเชษฐบุรี เวียงสวนดอก เวียงนพบุรี เมื่อตั้งเวียงนพบุรีได้ตั้งเสาอินทขิลขึ้นเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเมือง พร้อมกับมอบกุมภัณฑ์สองตนทำหน้าที่รักษาเวียงให้มั่นคง ตามคำแนะนำของฤาษี ชาวเมืองต้องทำพิธีบูชาเสาอินทขิลและเลี้ยงกุมภัณฑ์ หากปล่อยปละละเลยไม่บูชาบ้านเมืองจะวินาศ ส่วนเสาอินทขิลที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงนั้น มีบันทึกไว้ว่าพญามังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์ทรงสร้างเสาอินทขิล เมื่อครั้งสถาปนา "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1839 เดิมอยู่ที่วัดสะดือเมืองหรือวัดอินทขิล กลางเวียงเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือหอประติโลกราช ข้างศาลากลางหลังเก่า) ครั้ง "พระเจ้ากาวิละ" ครองเมืองเชียงใหม่ ได้ย้ายมาประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง โดยบูรณะขึ้นใหม่เป็นเสาปูน พร้อมกับทำการบวงสรวงเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
ที่มา : paiteaw.com
ภาพโดย เลิศชาย ปานมุข
วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554
พิธีรับวุฒิบัตรและเข็ม ผู้ผ่านการพัฒนาสมรรถนะหัวหน้า
พิธีรับวุฒิบัตรและเข็ม ผู้ผ่านการพัฒนาสมรรถนะหัวหน้ากศน.ตำบล ปี ๒๕๕๔
รูปที่ ๑ ภาพประทับใจพี่ไก่ และ อิ๋มได้มีโอกาสมองของที่ระลึกให้ท่านเลขาธิการ กศน. ท่านประเสริฐ บุญเรือง ค่ะ
๓๐ กันยายน ๒๕๕๔
พิธีรับวุฒิบัตรและเข็ม ผู้ผ่านการพัฒนาสมรรถนะหัวหน้า กศน.ตำบล ๒๕๕๔
จำนวน ๒.๘๗๔ คน
ณ โรงแรม AMBASSADOR CITY JOMTIEN
กลับจากพิธีรับวุฒิบัตรและเข็ม ครู กศน.ตำบลต้นแบบ เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ค่ะ เป็นภาพความประทับใจที่ได้เจอเพื่อนๆ ครู กศน.ต้นแบบ รุ่น ๒ อีกครั้งหลังจากที่เคยไปอบรมด้วยกันที่สระบุรี ๖ วัน และ ผ่านการฝึกประสบการณ์ในตำบลมาอีก ๕ วัน สำหรับ ๒ วันที่ AMBASSADOR CITY เป็นการนำรายงานที่เราฝึกประสบการณ์ในพื้นที่ไปส่งอาจารย์ เพื่อให้อาจารย์ตรวจและวิพากษ์ผลงานค่ะ ช่วงค่ำมีงานเลี้ยงพบปะพี่น้อง ชาว กศน.ต้นแบบ ทั้ง ๓ รุ่น เป็นภาพประทับใจนะค่ะ เพราะไม่เคยมีครั้งไหนจะร่วม กศน.ครบทุกจังหวัดและมาประชุมพร้อมกันได้เจอเพื่อนใหม่ที่ทำงานลักษณะเดียวกันจากทุกภาค ได้ประสบการที่ดีมากมายเลยค่ะ
ช่วงเช้าวันที่ ๓๐ เป็นพิธีรับวุฒิบัตรและเข็ม ครู กศน.ตำบล ๒,๘๗๔ ส่วมชุมพนักงานราชการมารับเข็มพร้อมกัน เป็นภาพที่สวยงามมาก จะมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบ แต่ครั้งนี้ คงคิดถึงไปอีกนานค่ะ
รูปที่ ๒ ถ่ายกับเพื่อนๆอำเภอบางซ้าย บ้านแพรกและภาชีค่ะ
รูปที่ ๓ ถ่ายกับพี่ที่ กรุงเทพฯ สงขลา และ กระบี่ ค่ะ